โดยที่ภาครัฐเองก็ได้ตระหนักถึงสิ่งนี้ ว่าประเทศไทยต้องปรับปรุงเรื่องค่าไฟ และเร่งเพิ่มสัดส่วนไฟฟ้าพลังงานสะอาด นอกจากจะมีการตั้งเป้าหมายที่จะบรรลุ carbon neutrality ภายในปี 2050 นั้น ก็ได้เร่งให้ภาคไฟฟ้าเพิ่มสัดส่วนไฟฟ้าพลังงานสะอาดและทำให้ค่าไฟถูกและเป็นธรรมมากขึ้น โดยการที่ภาคไฟฟ้าจะช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมาย carbon neutrality ได้นั้น การผลิตไฟฟ้าต้องมีสัดส่วนไฟฟ้าพลังงานสะอาดถึง 74%ของเชื้อเพลิงทั้งหมดในการผลิตไฟฟ้าภายในปี 2050 (จากแผน LT-LEDS) ซึ่งจากร่างแผน PDP 2023 รัฐบาลไทยได้มีการวางนโยบายที่จะช่วยประเทศบรรลุเป้าหมาย เช่น การสนับสนุนโครงการโซลาร์ภาคประชาชน การลดและเลิกการใช้ถ่านหินในการผลิตไฟฟ้า การกำหนดว่าสำหรับโรงไฟฟ้าใหม่ต้องมีกำลังการผลิตไฟฟ้ามาจากพลังงานสะอาดอย่างต่ำ 50% มีการให้การสนับสนุนเทคโนโลยีกักเก็บพลังงาน และ hydrogen สำหรับค่าไฟมีการตั้งเป้าหมายเพดานราคาค่าไฟไม่เกิน 5 บาทต่อหน่วยตลอดแผน รวมไปถึงให้การสนับสนุนการพัฒนาทางด้านนวัตกรรมไฟฟ้าเช่นโครงการ ERC Sandbox แต่อย่างไรก็ตามความพยายามเหล่านี้เป็นแค่ส่วนหนึ่งในการช่วยให้บรรลุเป้าหมาย carbon neutrality แต่ยังคงไม่เพียงพอ ปัจจัยหลักในการที่จะช่วยให้เป้าหมายเป็นจริงได้มากขึ้นคือการเปิดไฟฟ้าเสรีซึ่งควรกำหนดแน่ชัดในแผน PDP
รมว.พลังงาน มอบหมาย คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) หารือ 3 การไฟฟ้า หาแนวทางลดต้นทุนค่าไฟฟ้า เบื้องต้น กกพ. เห็นชอบแนวทางการปรับอัตราส่วน ...
SOLAR ENERGY TH เชี่ยวชาญในการออกแบบและติดตั้งระบบโซลูชันพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีประสิทธิภาพสูง และการจัดเก็บพลังงานในพื้นที่ห่างไกล โซลูชันของเราถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในสถานที่ที่ไม่มีการเข้าถึงไฟฟ้า และสามารถรองรับทั้งการใช้งานในโครงการไมโครกริดและระบบพลังงานสะอาด
เราใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดในการผลิตและเก็บพลังงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ระบบของเราเหมาะสำหรับทั้งการใช้งานในภาคธุรกิจและในพื้นที่ที่ไม่สามารถเข้าถึงไฟฟ้าผ่านระบบปกติได้
SOLAR ENERGY TH มุ่งมั่นพัฒนาพลังงานสะอาดและยั่งยืนให้กับโลก ด้วยโซลูชันที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการด้านพลังงาน ทั้งในอนาคตและในปัจจุบัน เราตั้งใจสร้างผลกระทบที่เป็นบวกต่อสิ่งแวดล้อมและสนับสนุนความพึ่งพาตนเองของชุมชนในทุกมุมโลก